
จากกรณี น้องชมพู่ เสียชีวิตปริศนา บนเขาภูเหล็กไฟ ห่างจากบ้านพัก 2 กิโลเมตร ในพื้นที่บ้านกกกอก หมู่ 2 ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ซึ่งผ่านมาร่วม 2 เดือนแล้ว ยังไม่มีการออกหมายจับคนร้าย ขณะที่คนในครอบครัวของน้องชมพู่ ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลต้องสงสัย ซึ่งเป็นคนในครอบครัวกันเอง จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

น้องชมพู่
ล่าสุดด้านเพจ สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้โพสต์ข้อความวิเคราะห์เกี่ยวกับคดีนี้ว่า ใครฆ่าหนู (ตอน 1) ข่าวดังตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ด.ญ. คนหนึ่ง อายุเพียง 3 ขวบที่หายออกไปจากบ้าน ต่อมาพบเป็นศพอยู่บนภูเขาสูงห่างจากบ้านขึ้นไปราว 3 กิโลเมตร
ตอนแรก ผมก็สนใจนะครับว่า เรื่องราวเป็นอย่างไร ก็เลยติดตามดูข่าวทางสื่อมวลชนต่างๆ ข้อเท็จจริง ในฐานะสื่อที่ควรนำเสนอโดยไม่ชี้นำสังคม.. คือ ข้อเท็จจริงดิบๆ ที่ไม่ต้องวิเคราะห์เพราะประชาชนที่ติดตามข่าวคงวิเคราะห์ ติชมตามปกติวิสัยได้เอง แต่สื่อ ก็ติดตามนำเสนอข่าวนี้ทุกวันติดต่อกันนานนับเดือน… จนไม่มีข้อมูลดิบอะไรจะนำเสนออีกแล้ว

สื่อ บางช่องก็เลย เริ่มวิเคราะห์ข้อเท็จจริงในคดีเสียเอง.. ไม่ก็หาข้อมูลที่อาจจะชี้นำผลของคดีล่วงหน้า..ทั้งที่ ความจริงแล้ว.. ควรปล่อยให้เป็นบทบาทของพนักงานสอบสวนในการรวบรวม พยานหลักฐาน
หากสื่อต้องการช่วยเหลือ พนักงานสอบสวน ก็ควรแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวกับพยานหลักฐานให้พนักงานสอบสวนทราบ.. ไม่ใช่มาเปิดเผยต่อสาธารณะ..
ในต่างประเทศ ข้อมูลคดีที่สื่อนำเสนอเป็นข่าว จะต้องเป็นข้อมูลที่ได้มาโดยเปิดเผยจากพนักงานสอบสวนเท่านั้น..
บางที ก็ถามจน พยานสับสน หวาดระแวงกันเอง.. ถามจนทำให้สังคมเกิดสงสัยใครต่อใคร มั่วไปหมด.. ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้ผู้บริสุทธิ์ตกเป็นแพะอย่างยิ่ง แม้ตำรวจจะไม่สนใจข้อมูลส่วนนี้.. แต่สังคมสนใจมากก..

ทำให้คนที่สื่อชี้นำให้สงสัยตกเป็น #จำเลยสังคม ถูก #ดูหมิ่นเกลียดชัง ไปได้ภายในข้ามคืนเดียว และบางที ก็ถามจน.. ครอบครัวเขาแตกแยก.. จนญาติพี่น้อง คนในหมู่บ้านทะเลาะเบาะแว้งกันจนขาดความสงบสุขไปในบัดดล
ใครจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ทราบนะ แต่สื่อก็ทำหน้าที่แบบตรงไปตรงมา และไร้ซึ่งชีวิตจิตใจ เพราะต้องทำหน้าที่เสาะหาข้อมูลมาให้มากที่สุด ส่วนผลกระทบจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ใช่หน้าที่ ไม่ต้องรับรู้ ขอเพียงได้ข้อมูลมาทำข่าวแข่งกันทุกวันๆก็พอ..แม้จะมี #กฎหมายเรื่องละเมิดอำนาจศาล บังคับห้ามสื่อลงข่าวชี้นำศาล ชี้นำพยานหรือชี้นำประชาชนในคดีที่ได้ฟ้องศาลแล้ว
และที่ผ่านมา สื่อก็ทราบดี จึงมักจะยุติการทำข่าวแบบชี้นำทันทีที่มีการฟ้องคดี ซึ่งผมก็ดีใจนะที่ #สื่อมวลชนมีความรู้ด้านกฎหมาย ด้วย

แต่การชี้นำผลคดีล่วงหน้าก่อนมี #การฟ้องคดี ทั้งที่รู้ว่า อย่างไรเสีย เรื่องนี้ต่อไป ก็ต้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลแน่ๆ..มันก็คือการชี้นำสังคมก่อนศาลมีคำพิพากษานั่นเอง..คู่ความพยาน และผู้พิพากษา ที่ติดตามข่าว ก็อาจถูกอิทธิพลสื่อครอบงำ ชี้นำให้เชื่อในข้อเท็จจริงไปตั้งแต่ยังไม่เริ่มสืบพยาน
นักกฎหมายสายตัวบท อาจบอกว่า สื่อทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายเขียนไว้ว่า สื่อที่ชี้นำคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ในเมื่อยังไม่มีคดีขึ้นสู่ศาล เพราะอัยการยังไม่ฟ้อง สื่อก็ไม่มีความผิดที่ไปชี้นำสังคม
ดังนั้น การชี้นำ ไม่ว่า ก่อนฟ้อง หรือ ระหว่างพิจารณาคดี ก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้เช่นเดียวกัน จำได้ว่า เมื่อสักเกือบ 10 ปีก่อน ผมเคยไปบรรยายกฎหมายเรื่อง สิทธิของเหยื่อ ให้สื่อมวลชนฟัง น่าจะเป็นที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ แห่งประเทศไทย
ได้พูดคุยกับ สื่อมวลชน หลายคน ทำให้ทราบว่า สื่อมวลชนส่วนใหญ่นั้น ไม่รู้กฎหมายและขั้นตอนดำเนินคดีนับเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ผู้จัดงานให้ความสำคัญ จัดเวทีให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่สื่อมวลชน..ผมเห็นว่า สื่อมวลชลนั้น มีหน้าที่ นำเสนอข่าว และมีความสามารถที่จะชี้นำสังคมไปในทางที่ดีได้..หากสื่อมีความรู้กฎหมาย นอกจากสื่อจะไม่ทำผิดกฎหมายแล้ว สื่อยังจะ ถ่ายทอดความรู้กฎหมาย ที่ถูกต้องให้แก่สังคมได้ด้วย

ถ้าสื่อมีความรู้กฎหมายพื้นฐานที่ประชาชนควรรู้น่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างมหาศาลนะครับฝากผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วย คราวต่อไป ตอน 2 ของเรื่อง ใครฆ่าหนูจะนำเสนอว่า มี กฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อ ในเรื่องนี้บ้างทำให้ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เข้ามาตำหนิสื่อบางช่องที่นำเสนอข่าวคดีดังกล่าวมากไป จนทำให้เกิดดราม่าต่างๆ ขึ้นมา
EmoticonEmoticon